วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดบางว้าใหญ่" สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปฏิสังขรณ์และยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกซึ่งอัญเชิญมาจากนครศรีธรรมราชขึ้นที่วัดนี้
          เมื่อรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ ได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่งซึ่งมีเสียงไพเราะมากจึงทรงให้นำไปไว้ที่วัดพระแก้ว โดยทรงสร้างระฆัง 5 ลูกมาไว้ที่วัดแทน แล้วพระราชทานนามว่า "วัดระฆังโฆสิตาราม" เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้เปลี่ยนเป็น "วัดราชคุณฑิยาราม" (คัณฑิแปลว่า ระฆัง) แต่คนทั่วไปไม่นิยมยังคงเรียกกันว่า "วัดระฆัง" มาจนทุกวันนี้

          พระอุโบสถ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังคาลดมุข 3 ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์และคันทวยที่สลักเสลาอย่างประณีตงดงาม ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นฝีมือของ "พระวรรณวาดวิจิตร" จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 6

          พระปรางค์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้รับการยกย่องว่า "ทำถูกแบบแผนที่สุด" จนถือเป็นแบบฉบับของพระปรางค์ที่สร้างในยุคต่อมา

          หอระฆัง ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของวัด สร้างแบบจัตุรมุขเป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้านบนแขวนระฆังที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 1 จำนวน 5 ลูก

ที่อยู่ 250 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์ (662) 411-2255 418-2729
โทรสาร (662) 222-6935
เวลาทำการ บริเวณวัด ทุกวัน 5.00-21.00 น.
โบสถ์ ทุกวัน 6.00-18.00 น.
พระวิหารสมเด็จ ทุกวัน 8.00-17.00 น.
การเดินทาง รถประจำทาง 19 57 83
ท่าเรือ 1. เรือด่วนเจ้าพระยา: ท่ารถไฟ ท่าวังหลัง 2. เรือข้ามฟาก: ท่าช้าง-ท่าวัดระฆัง
ที่จอดรถ บริเวณภายในวัด
ค่าเข้าชม ไม่เสียค่าเข้าชม
กิจกรรม-เทศกาล เทศกาลสงกรานต์ (13-15 เม.ย.) , วันครบรอบวันมรณภาพสมเด็จโต (22 มิ.ย.)
สถานที่ใกล้เคียง

ป้อมวิชัยประสิทธิ์
พระราชวังเดิม
พิพิธภัณฑ์ฯ
เรือราชพิธี
พิพิธภัณฑ์ฯ ศิริราช
วัดเครือวัลย์
วัดสุวรรณาราม
วัดอรุณฯ

สถานที่สำคัญ ร.ร.โฆษิตสโมสร
ร.ร.สตรีวัดระฆัง
ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน พ.ศ. 2492
อารามหลวง ชั้นโท

 

หน้าแรก | ประวัติกรุงเทพ | วัด | สถานที่สำคัญ | สวนสัตว์ | แหล่งช็อปปิ้ง | ลิงค์น่าสนใจ | คณะผู้จัดทำ